ประเภทของคำสั่งซื้อขาย: Market, Limit, Stop, Trailing Stop, Stop Limit

คำสั่งซื้อขายคืออะไร

คำสั่งซื้อขายประกอบด้วยคำสั่งที่ส่งไปยังโบรกเกอร์ให้ทำการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในนามของเทรดเดอร์ ปกติแล้วคำสั่งซื้อขายจะถูกวางผ่านทางโทรศัพท์ หรือผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขาย นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังสามารถวางคำสั่งซื้อขายโดยใช้ระบบการซื้อขายแบบอัตโนมัติได้อีกด้วย เมื่อมีคำสั่งซื้อขายถูกวาง มันก็จะไหลไปตามขั้นตอนของการดำเนินการคำสั่งซื้อขาย

คำสั่งหลายประเภทจะอนุญาตให้เทรดเดอร์กำหนดข้อจำกัดที่ส่งผลต่อราคาและเวลาในการดำเนินการ คำสั่งที่มีเงื่อนไขเหล่านี้อาจรวมถึงระดับราคาเฉพาะ (Limit) ที่จะดำเนินการคำสั่งซื้อขาย และช่วงเวลาที่จะให้คำสั่งซื้อขายยังคงมีผลบังคับใช้ แถมยังสามารถกำหนดได้ว่าคำสั่งซื้อขายจะถูกเปิดหรือยกเลิกตามคำสั่งอื่น ๆ

เทรดเดอร์จะใช้คำสั่งประเภทต่าง ๆ ตามสไตล์ ประสบการณ์ และกลยุทธ์การซื้อขายของพวกเขาเอง การใช้คำสั่งแต่ละประเภทจะเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จของคุณอย่างมากในตลาดการเงิน ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาสำรวจคำสั่งซื้อขายแต่ละประเภทกันแบบละเอียด

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด (Market order)

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด หรือ Market order คือ การซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่ดีที่สุดทันที ซึ่งมันจำเป็นต้องมีสภาพคล่องถึงจะได้รับการเติมเต็ม นั่นหมายความว่ามันจะถูกดำเนินการตามคำสั่ง Limit ที่วางไว้แล้วในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขาย

การตั้งค่าคำสั่งซื้อขายในตลาดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของคุณ หากคุณต้องการซื้อหรือขายทันที ณ ราคาตลาดปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ราคา XAUUSD อาจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคุณต้องการเข้าซื้อโดยเร็วที่สุด ในกรณีนี้ คุณต้องวางคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดแล้วซื้อ XAUUSD ภายในเสี้ยววินาที

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดทำงานอย่างไร?

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดจะถูกดำเนินการทันทีที่ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะแตกต่างจากคำสั่ง Limit ที่ถูกวางอยู่ในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขาย การซื้อขายจะมีสองฝั่งเสมอ คือ ผู้ดูแลสภาพคล่อง (maker) และผู้ซื้อขาย (taker)

การวางคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดหมายถึงการรับราคาที่บุคคลอื่นตั้งไว้ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์จับคู่คำสั่งซื้อ ณ ราคาตลาดกับราคาเสนอซื้อ (Ask) ที่ต่ำที่สุดในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขาย แต่ในทางกลับกัน โบรกเกอร์จะจับคู่คำสั่งขาย ณ ราคาตลาดกับราคาเสนอขาย (Bid) ที่สูงที่สุดในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขาย

ตามที่กล่าวไว้ คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดต้องการโบรกเกอร์ที่มีสภาพคล่องในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขายเพื่อตอบสนองความต้องการในทันที การวางคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด เทรดเดอร์จะจ่ายค่าธรรมเนียมสูงขึ้นในฐานะผู้ซื้อขายเนื่องจากคำสั่งซื้อขายดังกล่าวจะดึงสภาพคล่องออกจากโบรกเกอร์

ตัวอย่างของคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด

การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลสภาพคล่องกับผู้ซื้อขายด้วยตัวเลขนั้นง่ายกว่ามาก ๆ เดี๋ยวเราไปดูตัวอย่างกัน

สมมติว่าคุณต้องการซื้อ EURUSD หนึ่งล็อต และราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ $1.0643 ในการสร้างคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด ให้คุณกรอก "1" ลงในช่องปริมาณ แล้วคลิก "Buy by Market"

New Market Order.png

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดใหม่

หลังจากวางคำสั่งซื้อขายของคุณแล้ว โบรกเกอร์จะดูสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขายที่มีคำสั่ง Limit พร้อมข้อมูลปริมาณและราคาเฉพาะที่ต้องการซื้อหรือขายสินทรัพย์ ในกรณีนี้ คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดของคุณเพื่อซื้อ EURUSD หนึ่งล็อตที่ราคาตลาดจะตรงกับคำสั่ง Sell Limit ที่ต่ำที่สุดในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขาย

Depth of Market.jpg

ความลึกของตลาด

อย่างที่คุณเห็น คำสั่ง Sell Limit ที่ต่ำที่สุดในสมุดบันทึกคือ EURUSD 10 ล็อต ที่ราคา 1.06446 คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดของคุณจะซื้อ EURUSD หนึ่งล็อตจากสิบล็อตที่ถูกเสนอไว้ ซึ่งทำให้คุณได้ราคาเปิดที่ 1.06446

แต่ถ้าสมมติว่าคุณต้องการซื้อ EURUSD 100 ล็อตที่ราคาตลาดปัจจุบัน คำสั่ง Sell Limit ที่ราคาถูกที่สุดที่พร้อมให้ซื้อขายนั้นต้องการปริมาณมากขึ้นเพื่อเติมเต็มคำสั่งซื้อ ณ ราคาตลาดทั้งหมดของคุณ ปริมาณที่เหลืออยู่ของคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดของคุณจะจับคู่กับคำสั่ง Sell Limit ที่ดีที่สุดถัดไปโดยอัตโนมัติจนกว่าจะเต็ม ผลก็คือคุณจะซื้อ 100 ล็อตด้วยราคาเฉลี่ยของล็อตทั้งหมดที่คุณได้ซื้อไป กระบวนการนี้เรียกว่าความคลาดเคลื่อน (slippage) ซึ่งเป็นเหตุผลที่คุณต้องจ่ายราคาและค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น (หรือรับราคาที่ต่ำกว่า) ในฐานะผู้ซื้อขาย

คำสั่งซื้อขายที่รอดำเนินการ (Pending order)

คำสั่งซื้อขายที่รอดำเนินการ หรือ Pending order คือ คำสั่งให้ซื้อหรือขายตราสารโดยมีเงื่อนไขเบื้องต้นบางอย่างที่เทรดเดอร์ได้ระบุไว้ เมื่อวางคำสั่งซื้อขายที่รอดำเนินการ เทรดเดอร์จะแจ้งโบรกเกอร์ว่าพวกเขาไม่ต้องการเข้าสู่ตลาดด้วยราคาตลาด ณ ปัจจุบัน แต่ต้องการดำเนินการคำสั่งซื้อขายหากราคาตลาดแตะถึงระดับที่กำหนด

คำสั่งซื้อขายที่รอดำเนินการจะถูกแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ คำสั่ง Limit, คำสั่ง Stop และคำสั่ง Stop Limit

คำสั่ง Limit

คำสั่ง Limit คือ การซื้อหรือขายสินทรัพย์โดยจำกัดราคาสูงสุดที่จะต้องจ่าย หรือราคาต่ำสุดที่จะได้รับ ("ราคา Limit")

คำสั่ง Limit อาจเหมาะสมหากคุณต้องการซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน หรือขายในราคาที่สูงกว่าราคา ณ ปัจจุบัน หากคำสั่งซื้อขายถูกเติมเต็ม ก็จะได้ตามราคา Limit ที่กำหนดไว้ หรือราคาที่ดีกว่า แต่ถ้าราคาตลาดไปไม่ถึงคำสั่ง Limit ของเทรดเดอร์ มันก็จะไม่ถูกดำเนินการ

คำสั่ง Limit ทำงานอย่างไร

คำสั่ง Limit จะถูกวางในสมุดบันทึกคำสั่งซื้อขายทันทีหลังถูกส่งเข้าไป อย่างไรก็ตาม มันจะถูกเติมเต็มก็ต่อเมื่อราคาสินทรัพย์แตะถึงราคา Limit ที่ระบุไว้ หรือราคาที่ดีกว่า

ตัวอย่างเช่น คุณต้องการขายหุ้น Apple ที่ราคา $100 ขณะที่ราคาปัจจุบันอยู่ที่ $90 คุณสามารถวางคำสั่ง Sell Limit ของ Apple ที่ $100 เมื่อราคาแตะถึงราคาเป้าหมายหรือสูงกว่า คำสั่งของคุณจะถูกดำเนินการขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของตลาด หากคำสั่งขายอื่นของ Apple ถูกวางก่อนหน้าคำสั่งของคุณ ระบบจะดำเนินการคำสั่งเหล่านั้นก่อน ส่วนคำสั่ง Limit ของคุณจะถูกเติมเต็มด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่ในภายหลัง

ตัวอย่างของคำสั่ง Limit

Limit Order Example.pngตัวอย่างของคำสั่ง Limit

กราฟด้านบนจะแสดงการใช้คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดกับคำสั่ง Limit ในตัวอย่างนี้ ราคาซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ประมาณ $134.80

เทรดเดอร์ที่ต้องการซื้อหรือขายสินทรัพย์โดยเร็วที่สุดจะวางคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกดำเนินการทันทีที่ราคาปัจจุบันของหุ้นที่ $134.80 (เส้นสีน้ำเงิน) หรือใกล้เคียง

เทรดเดอร์ที่ต้องการซื้อหุ้นที่กำลังลดลงไปที่ราคา $124.50 จะวางคำสั่ง Buy Limit ด้วยราคา Limit ที่ $124.50 (เส้นสีเขียว) หากหุ้นตกลงไปที่ $124.50 หรือต่ำกว่า คำสั่ง Limit จะถูกเปิดและดำเนินการที่ราคา $124.50 หรือต่ำกว่า หากหุ้นไม่สามารถตกลงไปที่ราคา $124.50 หรือต่ำกว่าได้ การดำเนินการก็จะไม่เกิดขึ้น

ส่วนเทรดเดอร์ที่ต้องการขายหุ้นที่กำลังพุ่งขึ้นไปที่ราคา $138 จะวางคำสั่ง Sell Limit ด้วยราคา Limit ที่ $138 (เส้นสีแดง) หากหุ้นไปถึงราคา $138 หรือสูงกว่า คำสั่ง Limit จะถูกเรียกใช้และดำเนินการที่ราคา $138 หรือสูงกว่า หากหุ้นไม่สามารถขึ้นไปถึงราคา $138 หรือสูงกว่าได้ การดำเนินก็การจะไม่เกิดขึ้น

โปรดทราบว่าแม้ว่าหุ้นจะไปถึงราคา Limit ที่ระบุไว้ คำสั่งซื้อขายของคุณอาจไม่ได้รับการเติมเต็มเนื่องจากมีคำสั่งซื้อขายอื่นที่รออยู่ก่อนหน้าคำสั่งของคุณ ทำให้ไม่มีหุ้นพร้อมขายให้ในราคา Limit โปรดสังเกตด้วยว่าด้วยคำสั่ง Limit ราคาที่ถูกดำเนินการอาจต่ำกว่าราคา Limit เมื่อซื้อ หรืออาจสูงกว่าราคา Limit เมื่อขาย

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือหากคำสั่ง Buy Limit ที่ราคา $124.50 ถูกตั้งค่าเป็น "Good 'til Canceled (เปิดไว้จนกว่ายกเลิก)" แทนที่จะเป็น "Day only (ภายในวันเท่านั้น)" คำสั่งก็จะยังคงมีผลในวันซื้อขายถัดไป หากหุ้นเปิดที่ราคา $120 คำสั่ง Buy Limit จะถูกเปิด และคาดว่าราคาซื้อจะอยู่ที่ประมาณ $120 ซึ่งเป็นราคาที่ดีสำหรับผู้ซื้อ ในทางกลับกัน ด้วยคำสั่ง Sell Limit ที่ $138 หากหุ้นเปิดที่ราคา $145 คำสั่ง Limit จะถูกเปิด และเติมเต็มที่ราคาใกล้กับ $145 ซึ่งเป็นราคาที่ดีกว่าสำหรับผู้ขาย

คำสั่ง Stop

คำสั่ง Stop คือ คำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่ราคาตลาดเมื่อไปถึงที่ราคาที่กำหนด ("ราคา Stop")

คำสั่ง Stop ทำงานอย่างไร

หากสินทรัพย์ถึงราคา Stop คำสั่งนั้นก็จะกลายเป็นคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด และจะถูกเติมเต็มในราคาถัดไปที่มีอยู่ตามความลึกของตลาด หากสินทรัพย์ไปไม่ถึงราคา Stop คำสั่งจะก็ไม่ถูกดำเนินการ

คำสั่ง Stop อาจเหมาะกับสถานการณ์ต่อไปนี้:

  • ราคาเป็นไปตามความคาดหวังหลังจากที่เปิดตำแหน่ง และเทรดเดอร์ต้องการปกป้องผลกำไรในกรณีที่เกิดการกลับตัว
  • เทรดเดอร์ต้องการเปิดตำแหน่งด้วยคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดทันทีที่ราคาทะลุลงต่ำกว่า/ขึ้นสูงกว่าระดับที่กำหนด โดยเชื่อว่าราคาจะยังคงลดลง/เพิ่มขึ้น
  • ราคาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง และเทรดเดอร์ต้องการจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น (โดยใช้ Stop Loss เป็นต้น)

เทรดเดอร์ตั้งค่าคำสั่ง Sell Stop ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน คำสั่งจะถูกเปิดเมื่อราคาตลาดลดลงถึงหรือต่ำกว่าราคา Stop เมื่อเกิดขึ้นแล้ว คำสั่ง Stop จะถูกเปิดและเปลี่ยนเป็นคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด โดยขายสินทรัพย์ในราคา ณ ปัจจุบันของตลาด

คำสั่ง Stop อาจเหมาะกับการซื้อด้วยเช่นกัน เทรดเดอร์ตั้งค่าคำสั่ง Buy Stop สูงกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน คำสั่งจะถูกเปิดเมื่อราคาตลาดพุ่งขึ้นถึงหรือเหนือราคา Stop เมื่อเกิดขึ้นแล้ว คำสั่ง Stop จะถูกเปิดและเปลี่ยนเป็นคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด โดยซื้อสินทรัพย์ในราคา ณ ปัจจุบันของตลาด

ตัวอย่างของคำสั่ง Stop

เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้คำสั่ง Stop เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นและลดความเสี่ยง (Stop Loss เป็นต้น) ด้วยคำสั่ง Stop Loss ตำแหน่งการซื้อขายจะถูกปิดหากราคามุ่งไปในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อใช้คำสั่ง Stop Loss เทรดเดอร์จะจำกัดความเสี่ยง โดยกำหนดจำนวนเงินที่จำกัดที่พอจะสูญเสียได้ในกรณีที่ตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับความคาดหวัง

ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ที่ซื้อหุ้น Apple ที่ราคา $134.50 ต่อหุ้น อาจตั้งคำสั่ง Stop loss เพื่อขายหุ้นที่ $124.50 หากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ มันจะช่วยจำกัดความเสี่ยงของการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ขาดทุนได้สูงสุด $10 ต่อหุ้น หากราคาหุ้นตกลงไปที่ $124.50 ต่อหุ้น คำสั่งจะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติซึ่งจะเป็นการปิดคำสั่งซื้อขาย

คำสั่ง Stop Loss อาจเป็นประโยชน์ในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญ และมีการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรงซึ่งสวนทางกับตำแหน่งของเทรดเดอร์

Stop Order Example.png

ตัวอย่างของคำสั่ง Stop

มันสำคัญมากที่ต้องรู้ว่าคำสั่ง Stop นั้นแตกต่างจากคำสั่ง Limit ที่จะดำเนินการก็ต่อเมื่อสามารถซื้อ (หรือขาย) สินทรัพย์ได้ในราคาที่กำหนดหรือดีกว่าเท่านั้น

ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คำสั่ง Stop อาจไม่ได้รับการเติมเต็มที่ระดับราคา Stop ที่กำหนดไว้ แต่มักจะถูกเติมเต็มในราคาที่ใกล้เคียงกับคำสั่งนั้นพอสมควร แต่คำสั่ง Stop Loss จะไม่สามารถให้การป้องกันได้มากนักในสถานการณ์ที่รุนแรง

ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ได้ซื้อหุ้นที่ราคา $130 ต่อหุ้น และวางคำสั่ง Sell Stop ที่ราคา $125 ต่อหุ้น แล้วตลาดหุ้นก็ปิดทำการ จากนั้น ข่าวร้ายเกี่ยวกับบริษัทก็ออกมาหลังปิดวันซื้อขายไปแล้ว

เมื่อตลาดเปิดทำการในวันซื้อขายถัดไป หากราคาหุ้นเปิดช่องว่างลงต่ำกว่าที่ $120 เช่นนั้นคำสั่ง Sell Stop หุ้นที่ราคา $125 ของเทรดเดอร์จะถูกเปิดทันทีเนื่องจากราคาได้ร่วงลงต่ำกว่าราคาของคำสั่งซื้อขาย ซึ่งมันจะไม่ถูกเติมเต็มที่ราคาใกล้เคียงกับ $125 ต่อหุ้น แต่มันจะถูกเติมเต็มในราคาตลาด ณ ปัจจุบันที่ $120 ต่อหุ้น

ด้วยคำสั่ง Limit คำสั่งซื้อขายของคุณจะได้รับการรับประกันว่าจะถูกเติมเต็มตามราคาคำสั่งซื้อขายที่ระบุหรือดีกว่า ส่วนคำสั่ง Stop จะรับประกันว่าเมื่อคำสั่งนั้นถูกเปิด มันจะถูกดำเนินการทันทีและเติมเต็มในราคาปัจจุบัน

คำสั่ง Stop Limit

คำสั่ง Stop Limit จะรวมคำสั่ง Stop ตามราคาเงื่อนไข และคำสั่ง Limit เอาไว้ด้วยกัน คำสั่ง Stop จะเพิ่มราคาเงื่อนไขให้โบรกเกอร์วางคำสั่ง Limit ของคุณ คุณสามารถเรียนรู้วิธีการทำงานของมันได้ด้านล่าง

คำสั่ง Stop Limit ทำงานอย่างไร

วิธีที่ดีที่สุดในการทำความเข้าใจคำสั่ง Stop Limit คือการแบ่งคำสั่งออกเป็นส่วน ๆ ราคา Stop จะทำหน้าที่เป็นเงื่อนไขในการวางคำสั่ง Limit เมื่อตลาดไปถึงราคา Stop โบรกเกอร์จะสร้างคำสั่ง Limit โดยอัตโนมัติด้วยราคาที่กำหนดเอง (ราคา Limit)

อย่างไรก็ตาม ราคา Stop และราคา Limit อาจเป็นราคาเดียวกันได้ ไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัว แต่มันจะปลอดภัยกว่าหากคุณตั้งราคา Stop (ราคาเงื่อนไข) ของคำสั่งขายให้สูงกว่าราคา Limit สักเล็กน้อย หรือตั้งราคา Stop ของคำสั่งซื้อให้ต่ำกว่าราคา Limit สักเล็กน้อย สิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสที่คำสั่ง Limit ของคุณจะถูกเติมเต็มหลังจากที่มันถูกเปิด

ตัวอย่างของคำสั่ง Buy และ Sell Stop Limit

Buy Stop Limit

สมมติว่าขณะนี้ XAUUSD อยู่ที่ $1,914 และคุณต้องการซื้อในตอนที่ราคาของมันขยับขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณต้องการจ่ายเพียงเล็กน้อยสำหรับ XAUUSD หากราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นคุณต้องจำกัดราคาที่คุณจะจ่าย

Stop Limit Example.png

ตัวอย่างของคำสั่ง Buy Stop Limit

สมมติว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคของคุณแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มขาขึ้นอาจเริ่มต้นขึ้นหากตลาดทะลุขึ้นเหนือ $1,928 อย่างไรก็ตาม คุณต้องการหลีกเลี่ยงการซื้อขายการทะลุหลอก และใช้คำสั่ง Buy Stop Limit เพื่อเปิดตำแหน่งในกรณีที่ราคาทะลุออกไปได้ คุณตั้งราคา Stop ของคุณที่ $1,928 และราคา Limit ของคุณที่ $1,935 ทันทีที่ XAUUSD แตะถึง $1,928 คำสั่ง Buy Limit ของ XAUUSD จะถูกวางที่ $1,935 คำสั่งซื้อขายของคุณอาจถูกเติมเต็มในราคา $1,935 หรือต่ำกว่า เมื่อพิจารณาจากราคา Limit ของคุณคือ $1,935 คำสั่งซื้อขายของคุณอาจได้รับการเติมเต็มเพียงบางส่วนหากตลาดขึ้นไปเหนือราคาดังกล่าวเร็วเกินไป

Sell Stop Limit

สมมติว่าคุณได้ซื้อ XAUUSD ที่ $1,860 แล้วตอนนี้ราคาอยู่ที่ $1,913 เพื่อป้องกันการขาดทุน คุณจะใช้คำสั่ง Stop Limit เพื่อขาย XAUUSD หากราคากลับลงมาที่จุดเข้าของคุณ

คุณตั้งค่าคำสั่ง Sell Stop Limit ที่มีราคา Stop ที่ $1,870 และราคา Limit ที่ $1,860 (ราคาที่คุณได้ซื้อ XAUUSD มา) หากราคาแตะถึง $1,870 คำสั่ง Sell Limit ของ XAUUSD จะถูกวางที่ราคา $1,860 หากราคาแตะถึง $1,860 คำสั่งซื้อขายของคุณอาจถูกเติมเต็มที่ราคา $1,860 หรือสูงกว่า

Sell Stop Limit order example.png

ตัวอย่างของคำสั่ง Sell Stop Limit

คำสั่ง Trailing Stop

การแก้ไขคำสั่ง Stop มาตรฐานที่สามารถตั้งค่าเป็นเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนจุดที่กำหนดให้ห่างจากราคาตลาด ณ ปัจจุบันนั้นเรียกว่า Trailing Stop สำหรับตำแหน่ง Long นักลงทุนจะวาง Trailing Stop Loss ไว้ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน สำหรับตำแหน่ง Short นักลงทุนจะวาง Trailing Stop ไว้เหนือราคาตลาด ณ ปัจจุบัน

Trailing Stop ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องกำไร โดยจะคงสถานะเปิดของคำสั่งซื้อขายไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ราคาเคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่เทรดเดอร์ต้องการ คำสั่งจะปิดคำสั่งซื้อขายหากราคาเปลี่ยนทิศทางตามเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนจุดที่ระบุ

โดยปกติแล้ว Trailing Stop จะถูกวาง ณ เวลาเดียวกันกับที่คำสั่งซื้อขายแรกถูกวาง แต่ก็สามารถวางคำสั่งนี้หลังจากที่เปิดคำสั่งซื้อขายไปแล้วได้เช่นกัน

คำสั่ง Trailing Stop ทำงานอย่างไร

Trailing Stop จะเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวเนื่องจากมันได้รับการออกแบบมาเพื่อล็อกผลกำไรหรือจำกัดการขาดทุน หากเพิ่ม Trailing Stop Loss ที่ 10% ในตำแหน่ง Long คำสั่ง Sell จะถูกเปิดหากราคาลดลง 10% จากราคาสูงสุดหลังการซื้อ Trailing Stop จะขยับขึ้นเมื่อเกิดราคาสูงสุดใหม่แล้วเท่านั้น เมื่อ Trailing Stop เลื่อนขึ้น มันจะไม่สามารถถอยกลับได้

Trailing Stop นั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่าคำสั่ง Stop Loss แบบคงที่ เนื่องจากมันจะติดตามทิศทางราคาของหุ้นโดยอัตโนมัติและไม่ต้องไปคอยรีเซ็ตค่าด้วยตนเองเหมือนคำสั่ง Stop Loss แบบคงที่

นักลงทุนสามารถใช้ Trailing Stops ในสินทรัพย์ประเภทใดก็ได้ ตราบใดที่โบรกเกอร์จัดเตรียมคำสั่งประเภทนี้ไว้ให้ใช้ในการซื้อขายในตลาด Trailing Stop สามารถตั้งค่าเป็นคำสั่ง Limit หรือคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดก็ได้

กุญแจสำคัญในการใช้ Trailing Stop อย่างมีประสิทธิภาพคือตั้งให้อยู่ในระดับที่ไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป การวาง Trailing Stop Loss แคบเกินไปอาจทำให้คำสั่งซื้อขายไม่มีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวในทิศทางที่เทรดเดอร์คาดการณ์ ทำให้ Trailing Stop ถูกเปิดโดยการเคลื่อนไหวตามปกติของตลาดรายวัน การเคลื่อนไหวของตลาดตามปกติจะไม่ชน Trailing Stop ที่กว้างเกินไป แต่นั่นหมายความว่าเทรดเดอร์กำลังรับความเสี่ยงจากการขาดทุนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น หรือยอมเสียผลกำไรมากกว่าที่จำเป็น

ในขณะที่ Trailing Stop สามารถล็อกผลกำไรและจำกัดการขาดทุนได้ แต่การกำหนดระยะ Trailing Stop ในอุดมคตินั้นก็เป็นเรื่องยาก ไม่มีระยะใดที่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของตลาดและสินทรัพย์ทางการเงินนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ Trailing Stops จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

ข้อสำคัญ: Trailing Stop Loss ในอุดมคติจะต้องเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในช่วงที่มีความผันผวนมากขึ้น Trailing Stop ที่กว้างขึ้นย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ส่วน Trailing Stop loss ที่แคบลงอาจได้ผลในช่วงเวลาที่เงียบสงบหรือในหุ้นที่มีเสถียรภาพมาก ๆ

ตัวอย่างของคำสั่ง Trailing Stop

สมมติว่าคุณได้ซื้อ XAUUSD ที่ราคา $2,000 เมื่อดูที่การพุ่งขึ้นก่อนหน้านี้ คุณจะเห็นว่าราคามักจะดึงกลับ 2% ถึง 4% ก่อนที่จะขยับสูงขึ้นอีกครั้ง การเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้สามารถช่วยกำหนดระดับเปอร์เซ็นต์สำหรับ Trailing Stop ได้

การเลือก Trailing Stop ที่ 1% หรือแม้แต่ 3% นั้นอาจแคบเกินไป แม้แต่การดึงกลับเพียงเล็กน้อยก็มีแนวโน้มว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปไกลกว่านั้นอีก ดังนั้น Trailing Stop ก็มีแนวโน้มที่จะหยุดคำสั่งซื้อขายก่อนที่ราคาจะเพิ่มขึ้น

ส่วนการเลือก Trailing Stop ที่ 10% นั้นมากเกินไป ตามแนวโน้มล่าสุด การดึงกลับเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 3% โดยสูงสุดที่ 4%

Trailing Stop Loss ที่เหมาะสมกว่าคือ 5% ถึง 6% สิ่งนี้จะทำให้ราคามีพื้นที่เคลื่อนไหว แถมยังทำให้เทรดเดอร์ออกจากการซื้อขายได้อย่างรวดเร็วหากราคาลดลงมากกว่า 6% การลดลง 5% ถึง 6% นั้นมากกว่าการดึงกลับทั่วไป นั่นหมายความว่านี่อาจเป็นการกลับตัวของแนวโน้มแทนที่จะเป็นการดึงกลับ

การใช้ Trailing Stop ที่ 5% โบรกเกอร์ของคุณจะดำเนินการคำสั่งขายหากราคาลดลงต่ำกว่าราคาซื้อของคุณ 5% ซึ่งก็คือราคา $1,900 หากราคาไม่ได้ขยับเกิน $2,000 เลยหลังจากที่คุณซื้อ คำสั่ง Stop Loss ของคุณจะอยู่ที่ $1,900 หากราคาไปถึง $2,100 คำสั่ง Stop Loss ของคุณจะขยับขึ้นไปที่ราคา $1,995 ซึ่งต่ำกว่าราคา $2,100 อยู่ 5% หากราคาเริ่มลดลงจาก $2,100 และไม่กลับขึ้นไป คำสั่ง Trailing Stop ของคุณจะอยู่ที่ราคา $1,995 และหากราคาลดลงไปถึงระดับนั้น โบรกเกอร์ก็จะขายสินทรัพย์

วิธีเลือกคำสั่งซื้อขายที่เหมาะสม

คำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมเมื่อคุณเริ่มซื้อขายและลงทุน เนื่องจากมันใช้งานง่ายและมีให้ใช้ในทุกโบรกเกอร์ คำสั่งซื้อขายของคุณจะได้รับการดำเนินการอย่างแน่นอน แต่เดี๋ยวคุณก็จะรู้ว่าคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาดเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ

กุญแจสำคัญคือการจับคู่ประเภทคำสั่งของคุณกับกลยุทธ์การซื้อขายของคุณ และใช้ประเภทคำสั่งที่เหมาะกับสถานการณ์มากที่สุด เทรดเดอร์และนักลงทุนทุกคนควรรู้จักคำสั่งซื้อขาย ณ ราคาตลาด, คำสั่ง Limit, คำสั่ง Stop, คำสั่ง Stop Limit และคำสั่ง Trailing Stop สิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขายของคุณหรือสร้างกลยุทธ์ใหม่ และลดความจำเป็นในการเฝ้าตลาดอย่างต่อเนื่อง

โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์มืออาชีพจะใช้คำสั่งประเภทต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้:

  • คำสั่ง Limit – เพื่อรับตำแหน่งก่อนการกลับตัวของราคาหรือ Take Profit 
  • คำสั่ง Stop – เพื่อจำกัดการขาดทุนโดยการตั้งค่าคำสั่ง Stop loss
  • Stop Limit – เพื่อติดตามแนวโน้มหลังจากการทะลุ
  • Trailing Stop – เพื่อปกป้องผลกำไร

สรุป

ตรวจสอบว่าประเภทคำสั่งที่แต่ละโบรกเกอร์รองรับนั้นมีอะไรบ้าง และค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่พวกเขาเรียกเก็บสำหรับประเภทคำสั่งที่ซับซ้อน จากนั้นค่อยเลือกโบรกเกอร์ นี่คือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโบรกเกอร์ที่ส่งผลต่อการซื้อขายของคุณในระยะยาว

ที่ FBS คุณสามารถใช้คำสั่งประเภทใดก็ได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม อย่าลังเลที่จะสร้างบัญชีแล้วลองใช้บริการและเงื่อนไขการซื้อขายที่มีคุณภาพสูงของเรา

อัปเดทแล้ว • 2023-06-27

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?

    คลิกปุ่ม ‘เปิดบัญชี’ บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Personal area ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขายได้ คุณจะต้องผ่านการตรวจสอบโปรไฟล์, ยืนยันอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ, และผ่านการยืนยัน ID ของคุณ ขั้นตอนนี้มีไว้เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเงินทุนและตัวตนของคุณ เมื่อคุณตรวจสอบทั้งหมดเสร็จแล้วให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการแล้วเริ่มทำการซื้อขาย 

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

  • จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?

    ขั้นตอนนั้นตรงไปตรงมามาก ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Personal area แล้วถอนเงิน คุณจะรับเงินที่ถอนผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีด้วยวิธีการอื่น คุณต้องถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในยอดเดียวกันกับจำนวนเงินที่ฝาก

ข่าวล่าสุด

โมเมนตัมขาขึ้นของทองคำกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL

NASDAQ มีโอกาสลงต่อได้ ถ้าราคาสามารถเคลื่อนที่ลงไปถึง 17,700 จุด ได้

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL

โมเมนตัมขาลงของ S&P 500 มีโอกาสอ่อนแรงได้ ถ้าราคาลงไปที่บริเวณ 5,040 จุด

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera