บทนำสู่ทฤษฏีคลื่นเอลเลียตต์ (Elliott Wave Theory)

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ (Elliott Wave Theory) คืออะไร?

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ (Elliott Wave Theory) เป็นทฤษฎีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ในการระบุและอธิบายคลื่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของราคาแบบแฟร็กทัลที่เกิดซ้ำ ๆ ในระยะยาวในตลาดการเงิน ปัจจุบันคลื่นเอลเลียตต์เป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่ใช้สำหรับการคาดการณ์ Forex นอกจากนี้ จากประสบการณ์ของเราแล้วมันยังเป็นเครื่องมือเดียวที่สามารถจัดเรียงการเคลื่อนไหวของราคาในทุกกรอบเวลาได้ ตั้งแต่แผนภูมิรายเดือนหรือรายปีไปจนถึงกรอบเวลาหนึ่งนาทีในช่วงระหว่างวัน

ในบทความนี้ คุณจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์, คลื่นประเภทต่าง ๆ ในทฤษฎีนี้ และวิธีการใช้คลื่นเอลเลียตต์ในการซื้อขาย

ใครเป็นผู้เขียนทฤษฎีนี้ขึ้นมา?

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักบัญชีที่มีชื่อเสียงอย่าง ราล์ฟ เนลสัน เอลเลียตต์ (Ralph Nelson Elliott) (ค.ศ. 1871 ― ค.ศ. 1948) เขาได้ทำการศึกษาข้อมูลตลาดหุ้นอย่างเป็นระบบ และในปี ค.ศ. 1938 ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ‘The Wave Principle’ ('หลักการคลื่น') ออกมา โดยเขาได้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เขาค้นพบ ในหนังสือของเขา เขาระบุว่าแม้ตลาดหุ้นอาจดูคาดเหมือนว่าจะเดาไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วราคาเคลื่อนไหวไปตามกฎธรรมชาติที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า และสามารถประเมินได้โดยใช้ตัวเลขฟีโบนักชีมาช่วย เอลเลียตต์ได้อธิบายถึงกฎธรรมชาติเหล่านี้ด้วยเช่นกัน และในผลงานตีพิมพ์ถัดมาของเขาก็อธิบายว่าวิธีการคาดการณ์ตลาดของเขาทำงานอย่างไร

ปัจจุบัน เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ปฏิบัติตามกฎและแนวทางต่าง ๆ ตามหนังสือที่ชื่อว่า 'Elliott Wave Principle: Key to Market Behavior' (หลักการคลื่นเอลเลียตต์: กุญแจสู่พฤติกรรม) ซึ่งเขียนโดย Robert R. Prechter Jr. และ A.J. Frost

ทำความเข้าใจกับทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์

เอลเลียตต์ได้ตรวจสอบข้อมูลราคาของระยะเวลาเจ็ดสิบห้าปีอย่างระมัดระวังในขณะที่ศึกษาข้อมูลตลาดหุ้น ตั้งแต่กราฟดัชนีรายปีไปจนถึงรายครึ่งชั่วโมง ในหนังสือของเขา เขาได้ตั้งกฎเกี่ยวกับวิธีการระบุและทำนายรูปแบบคลื่นในการเคลื่อนไหวของราคา และวิธีการทำกำไรสูงสุดจากรูปแบบเหล่านี้ ปัจจุบัน ทฤษฎีของเขาถูกใช้โดยผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ เทรดเดอร์ นักลงทุนเอกชน ตลอดจนบริษัทที่วิเคราะห์ทางการเงินและการคาดการณ์ตลาดทั่วโลก

ในขณะเดียวกัน เอลเลียตต์ก็เตือนคนอื่น ๆ ว่าอย่ารูปแบบเหล่านี้สุ่มสี่สุ่มห้า เนื่องจากมันไม่มีการรับประกันว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เป็นไปได้เพียงทิศทางเดียว ซึ่งถ้าพูดให้ถูกก็คือ คลื่นเอลเลียตต์ช่วยให้เทรดเดอร์ได้เข้าใจความน่าจะเป็นของการเคลื่อนไหวของตลาดในอนาคต โดยการรวมเครื่องมือนี้เข้ากับวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ นั้นย่อมดีกว่า เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ตลาด

คลื่นเอลเลียตต์ทำงานอย่างไร

ตามทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ ราคาของหุ้นเคลื่อนไหวในลักษณะขึ้นและลงซ้ำ ๆ คล้ายกับคลื่น ซึ่งสิ่งนี้ควรที่จะทำให้ง่ายต่อการคาดการณ์เหมือนกับคลื่น รูปแบบเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับความถี่ที่สามารถคำนวณและคาดการณ์ได้หากคุณทราบกฎที่เกี่ยวข้อง เอลเลียตต์กล่าวว่าการแกว่งตัวของราคาเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากจิตวิทยาของนักลงทุนโดยรวม

เอลเลียตต์ไม่ได้เป็นคนแรกที่สรุปว่าราคาหุ้นเคลื่อนไหวเป็นระลอกเหมือนคลื่น ซึ่งได้มีการแสดงความคิดเห็นนี้ไว้ในทฤษฎีดาว (Dow theory) เมื่อหลายสิบปีก่อน แต่สิ่งที่เอลเลียตต์ค้นพบก็คือตลาดการเงินนั้นเป็นแฟร็กทัล หมายความว่าราคาในตลาดเกิดขึ้นวนแบบนั้นซ้ำ ๆ อย่างไม่รู้จบ สิ่งนี้ทำให้เขาจับตาดูรูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เหล่านี้อย่างใกล้ชิดและวิเคราะห์ว่าสามารถนำมาใช้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้หรือไม่

การคาดการณ์ตลาดตามรูปแบบของคลื่น

หลังจากการศึกษาอย่างละเอียด เอลเลียตต์ก็สรุปได้ว่ามีคลื่นสองประเภทที่แตกต่างกันในตลาดการเงิน: คลื่น Motive (หรือคลื่น Impulse) หรือ "คลื่นส่ง" และคลื่น Corrective หรือ "คลื่นปรับ" คลื่นส่งปรากฏขึ้นในทิศทางเดียวกับแนวโน้มหลัก และมักจะประกอบด้วยคลื่น 5 คลื่นในรูปแบบนี้ ในทางกลับกัน คลื่นปรับจะเกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มหลัก ลักษณะเฉพาะของรูปแบบคลื่นเหล่านี้ตามที่เอลเลียตต์ค้นพบ สามารถช่วยในการคาดการณ์ของตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำนายทิศทางหลักของราคาและความเป็นไปได้ของการปรับฐานที่สวนทางกับแนวโน้ม

คลื่นส่ง (Impulse wave)

คลื่นส่งเป็นหนึ่งในสองรูปแบบคลื่นที่กำหนดขึ้นโดยราล์ฟ เนลสัน เอลเลียตต์ คลื่นส่งจะสอดคล้องกับทิศทางหลักของการเคลื่อนไหวของราคา โดยในแนวโน้มขาขึ้น หมายถึง การเคลื่อนไหวขาขึ้น และในแนวโน้มขาลง หมายถึง การเคลื่อนไหวขาลง คลื่นส่งสามารถใช้ทำนายทิศทางในอนาคตของแนวโน้มได้ และโดยทั่วไปถือว่าเป็นรูปแบบที่ยืนยันแนวโน้ม

คลื่นส่งประกอบด้วยคลื่นย่อย 5 คลื่นที่เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มหลัก โดยคลื่น 3 คลื่นเป็นคลื่นส่งและเคลื่อนไหวไปในทิศทางของแนวโน้มหลัก ในขณะที่คลื่นอีก 2 คลื่นเป็นคลื่นปรับ

Motive waves.png

เนื่องจากรูปแบบคลื่นส่งเป็นรูปแบบที่ประกอบด้วยคลื่นย่อย 5 คลื่น แต่ละคลื่นจะบ่งบอกถึงความสนใจของผู้คนต่อหุ้นในระยะต่าง ๆ ไปดูกราฟกัน ในช่วงคลื่นที่ 1 มีผู้คนจำนวนไม่มากที่ซื้อหุ้น ซึ่งทำให้ราคาสูงขึ้น จากนั้น เมื่อเทรดเดอร์เหล่านี้คิดว่าราคาได้พุ่งขึ้นมามากพอแล้ว พวกเขาก็เริ่มขาย ซึ่งทำให้ราคาลดลงเล็กน้อย และคลื่นที่ 2 ซึ่งเป็นคลื่นปรับก็ปรากฏขึ้น หลังจากนี้คลื่นที่ 3 ก็จะตามมา หมายความว่าผู้คนทั่วไปสนใจหุ้นนี้และเริ่มเข้าซื้อกัน ราคาจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมักจะราคาสูงกว่าคลื่นที่ 1 โดยปกติแล้ว เมื่อเทรดเดอร์พิจารณาว่าหุ้นราคาสูงขึ้นอีกครั้ง พวกเขาก็ขายมัน ทำให้เกิดคลื่นที่ 4 ที่เป็นคลื่นปรับอีกครั้ง แต่อ่อนแอกว่ามาก คลื่นสุดท้ายของรูปแบบนี้ คลื่นที่ 5 บ่งบอกว่าความสนใจต่อหุ้นนั้นมีมากที่สุด ทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปสูงมาก

แต่เทรดเดอร์ควรตระหนักให้ดีว่าคลื่นส่งจะก่อตัวขึ้นตามกฎเฉพาะเท่านั้น หากมันไม่ได้เป็นไปตามกฎเหล่านี้ การก่อตัวบนกราฟก็จะไม่ใช่คลื่นส่ง กฎเหล่านี้คือ:

  • คลื่นที่ 2 ต้องไม่เคลื่อนลงไปต่ำกว่า 100% ของคลื่นที่ 1
  • คลื่นที่ 3 ต้องยาวกว่าคลื่นที่ 1 หรือคลื่นที่ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • คลื่นที่ 4 ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่นที่ 1

หากเป็นไปตามกฎเหล่านี้ ก็เป็นไปได้สูงว่าการก่อตัวที่คุณเห็นในกราฟนั้นเป็นคลื่นส่งจริง ๆ

คลื่นปรับ (Corrective wave)

หลังจากที่ได้เห็นรูปแบบคลื่นส่ง 5 คลื่นไปแล้ว คุณก็คาดเดาได้เลยว่าจะได้เห็นรูปแบบคลื่นปรับ 3 คลื่นตามมา คลื่นปรับจะเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวโน้ม โดยกลับตัวจากจุดสูงสุดหรือต่ำสุดที่เคยไปถึงก่อนหน้านี้

คลื่นปรับประกอบด้วยคลื่นย่อย 3 คลื่น คือ คลื่นปรับ 2 คลื่นและคลื่นส่งที่อ่อนแอ 1 คลื่น

เอลเลียตต์กล่าวไว้ว่ามีรูปแบบของคลื่นปรับนั้นมี 21 รูปแบบด้วยกัน บางรูปแบบก็เข้าใจง่าย บางรูปแบบก็ซับซ้อน แต่ทั้งหมดสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน

  1. รูปแบบซิกแซ็ก (Zig-zags) การก่อตัวของรูปแบบซิกแซ็กประกอบด้วยคลื่นย่อยสามคลื่น โดยคลื่นย่อยที่เป็นคลื่นส่งจะสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับคลื่นย่อยที่เป็นคลื่นปรับ รูปแบบซิกแซ็กสามารถเชื่อมเข้าด้วยกันได้และเกิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกันภายในการปรับฐานหนึ่งครั้งZig-zags.png
  2. รูปแบบราบเรียบ (Flats) ในรูปแบบราบเรียบ คลื่นทั้งหมดจะมีความยาวเท่ากัน คลื่นแต่ละลูกที่ตามมาจะเป็นการสะท้อนกลับการเคลื่อนที่ของคลื่นก่อนหน้าFLATS.png
  3. รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangles) ในการก่อตัวของรูปแบบสามเหลี่ยมนั้น รูปแบบคลื่นปรับจะถูกจำกัดโดยเส้นแนวโน้มที่บรรจบกันหรือแยกออกจากกัน คลื่นในรูปแบบสามเหลี่ยมเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างกับแนวโน้ม ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางของการเคลื่อนไหวของราคา รูปแบบสามเหลี่ยมสามารถเป็นได้ทั้งขาขึ้น (Bullish) ขาลง (Bearish) หรือสมมาตร (สามารถเคลื่อนไปทิศทางใดก็ได้)Ascending Triangle.png

สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ

เอลเลียตต์ตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนของคลื่นส่งหรือคลื่นปรับมีความสัมพันธ์กับลำดับฟีโบนักชีจริง ๆ และการเคลื่อนไหวของคลื่นเหล่านี้ภายในกราฟก็ตรงกับอัตราส่วนฟีโบนักชี

มีตัวบ่งชี้ทางเทคนิคมากมายที่อิงตามทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ ตัวอย่างเช่น Elliott Wave Oscillator ที่เป็นการผสมผสานของคลื่นเอลเลียตต์และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพื่อทำนายทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้แม่นยำยิ่งขึ้น

คุณจะเทรดโดยใช้ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ได้อย่างไร?

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์สามารถช่วยให้คุณกำหนดสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้การเทรดของคุณประสบความสำเร็จและได้กำไร ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นคลื่นส่งในแนวโน้มขาขึ้น คุณอาจอยากเข้าซื้อหุ้นและขายมันเมื่อคลื่นย่อยที่ 5 สิ้นสุดลง หากรูปแบบคลื่นสิ้นสุดลงแล้ว คุณก็อาจรอการเกิดซ้ำของรูปแบบคลื่น เนื่องจากรูปแบบเหล่านี้เป็นรูปแบบแฟร็กทัลและเกิดซ้ำ ๆ หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง

จุดเริ่มต้นของการเดินทาง

ตอนนี้เราเข้าใจแล้วว่าทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์คืออะไร ทีนี้ก็มาดูกันดีกว่าว่าคุณจะนำมันไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างไร คำอธิบายต่อไปนี้ใช้กฎและแนวทางจาก 'Elliott Wave Principle: Key to Market Behavior' แต่ตัวอย่างทั้งหมดเรานำมาจากตลาดจริง

LEGO ของตลาด

ดังที่เราได้เรียนรู้ไปแล้ว ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบด้วยกัน: คลื่นส่ง หรือคลื่น Impulse (การเคลื่อนไหวของราคาแบบ 5 คลื่น) และคลื่นปรับ หรือคลื่น Corrective (การเคลื่อนไหวของราคาแบบ 3 คลื่น)

ลองดูที่กราฟด้านล่างนะ คุณจะเห็นว่ามีรูปแบบ 5 คลื่นที่ร่วงลง – นั่นคือคลื่นส่ง (บางกรณีก็อาจเป็นรูปแบบคลื่นปรับ 5 คลื่นได้) นอกจากนี้ยังมีรูปแบบ 3 คลื่นที่พุ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถพิจารณาว่าเป็นการปรับฐานได้ ตอนนี้เราได้พบคลื่นส่งและคลื่นปรับแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะมาดูภาพรวมกัน

1528299580-deae538e0ae2e48af624aff42e40b26a_1200x1200_q90v3.png

กราฟถัดไปเป็นการนับคลื่นจริง คลื่นที่ 3 ของคลื่นส่งขาลงน่าจะเป็นคลื่นส่งและยังคงร่วงลงในขณะที่คลื่นที่ 4 ดีดตัวขึ้น

1528299598-f30fcc7024149c09bc3c628e708228ee_1200x1200_q90v3.png

สิ่งนี้ทำให้เราได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้: คลื่นทั้งหลายไม่สามารถแยกออกจากกันได้ คลื่นเอลเลียตต์เปรียบเสมือนตุ๊กตาแม่ลูกดกของรัสเซีย (Matryoshka) คลื่นแต่ละคลื่นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอีกคลื่นหนึ่ง แถมคลื่นแต่ละคลื่นยังประกอบไปด้วยคลื่นย่อย ๆ ในตัวมันเองอีกด้วย สิ่งนี้ใช้ได้กับทั้งกรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นและเล็กลง

และนี่ทำให้ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์แตกต่างจากการวิเคราะห์ตลาดด้วยวิธีอื่น ๆ แนวทางการวิเคราะห์ทางเทคนิคส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่รูปแบบและสัญญาณที่อยู่ห่างกันและไม่เกี่ยวข้องกัน พลังของทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ คือการที่มันช่วยให้เทรดเดอร์สามารถมองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นได้ ไม่ใช่มองเห็นแค่การตั้งค่าหนึ่ง ๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

โอกาสในการคิด

คุณคงเคยได้ยินว่าหากคุณใช้ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ในการซื้อขาย คุณจะสามารถนับจำนวนคลื่นที่เป็นไปได้ได้มากกว่าหนึ่งคลื่น โดยปกติแล้ว คุณก็จะพบกับสถานการณ์ที่เป็นไปได้อยู่สองสามสถานการณ์ และบางครั้งก็ดูเหมือนจะขัดแย้งกัน แต่นี่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดเกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ เพราะมันเหมือนกับการเล่นหมากรุก ที่คุณต้องคิดก้าวต่อไปก่อนที่จะเดินหมาก

หากตัวบ่งชี้ที่เป็นดั่งจอกศักดิ์สิทธิ์บอกให้คุณซื้อหรือขาย คุณก็จะไม่คิดว่าจะทำอะไรต่อไปหากการซื้อขายนั้นไม่เป็นไปตามแผน โดยกับทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์แล้ว คุณจะต้องคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในขั้นต่อไปโดยขึ้นอยู่กับจำนวนคลื่นที่มีอยู่ในขณะนั้น นี่คือทักษะที่สำคัญของเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างจริง

มาดูตัวอย่างจริงกันบ้าง ตัวอย่างแรกคือดัชนี DJI ในเดือนกันยายน ปี 2016 ดัชนีพุ่งไปถึงจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และฉันก็พบกับรูปแบบคลื่นที่เป็นขาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ฉันคาดว่าตลาดจะพุ่งสูงขึ้นกว่านี้มากเพราะอีกนานกว่าคลื่นที่ 5 จะสิ้นสุดลง

1528299633-5fc46f0e7b6138237037cb8cabe3948a_1200x1200_q90v3.png

ไม่กี่เดือนต่อมา ตลาดก็ไต่สูงขึ้นไปกว่าเดิม แต่ฉันยังคงยึดมั่นอยู่กับกลยุทธ์ขาขึ้น การคาดการณ์นี้มีพื้นฐานมาจากบางสิ่งในทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ที่เรากำลังจะได้เรียนรู้ในเร็วๆ นี้ แต่สำหรับตอนนี้ คุณจะเห็นได้ว่ามันทำงานอย่างไร

1528299651-5f443a5139fbcadf508d14b67fe716aa_1200x1200_q90v3.png

ในท้ายที่สุด แนวโน้มก็ยังคงเป็นขาขึ้น และคุณสามารถดูจำนวนคลื่นปัจจุบันได้ที่ด้านล่าง

1528299966-7ff71b28ff9d1b405ecdb07bc33b91c5_1200x1200_q90v3.png

ตัวอย่างที่สองคือ USD/TRY ในเดือนตุลาคม ปี 2016 คลื่นสามเหลี่ยมที่ 4 ดูเหมือนจะสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้นฉันจึงคาดว่าจะมีคลื่นส่งที่เป็นขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

1528299718-28d1ad7d8eff8dab4faa4b64e95a8e4a_1200x1200_q90v3.png

หลังจากนี้ก็มีการปรับฐานเป็นขาลงเป็นเวลานาน ซึ่งในที่สุดก็สิ้นสุดลง และแนวโน้มขาขึ้นก็ดำเนินต่อไปตามที่คาดการณ์ไว้

1528299762-fbb76159fd9f826e6b93b53c67b4df51_1200x1200_q90v3.png

ในที่สุดในเดือนเมษายน ปี 2018 ก็มีการแกว่งตัวเป็นขาขึ้นอีกครั้งเพราะดูเหมือนว่าคลื่นที่ 4 ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว เป็นผลให้ตลาดไต่ขึ้นมาสูงกว่าเดิมเสียอีก

1528299787-3e56744212783f7f415360358b0abe5d_1200x1200_q90v3.png

ความนิยมของทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์

ถึงแม้ว่าจะมีการนำเสนอทฤษฎีนี้ให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 แต่ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1970 เท่านั้น จากนั้นจึงถูกนำมาใช้เพื่อทำนายตลาดกระทิงในช่วงปี 1980 และการพังทลายของปี 1987 ปัจจุบันทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบคลาสสิกและเทรดเดอร์ทั่วโลกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

สรุป

ทฤษฎีคลื่นเอลเลียตต์เป็นหนึ่งในวิธีการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งมันดูเหมือนว่าจะตรงไปตรงมา แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เทรดเดอร์จำเป็นต้องรู้กฎมากมายเกี่ยวกับคลื่นเอลเลียตต์เพื่อที่จะสามารถระบุคลื่นต่าง ๆ บนกราฟได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้มันยังค่อนข้างยากที่จะคาดการณ์ว่าคลื่นจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและการวางแผนการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของคุณให้สอดคล้องกันกับคลื่นนี้ก็ไม่ง่ายเลย ดังนั้นเพื่อที่จะใช้วิธีนี้ให้มีศักยภาพสูงสุด คุณควรใช้มันร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ

อัปเดทแล้ว • 2023-05-26

บทความอื่นๆ ในส่วนนี้

คำถามที่พบบ่อย

  • คลื่นเอลเลียตต์คืออะไร?

    คลื่นเอลเลียตต์เป็นรูปแบบกราฟที่แสดงความต่อเนื่องของแนวโน้ม (คลื่นส่ง หรือคลื่น Impulse) หรือการปรับฐานของแนวโน้ม (คลื่นปรับ หรือคลื่น Corrective) คลื่นเอลเลียตต์ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดการเงินและทำนายการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

  • วัฏจักรของคลื่นเอลเลียตต์คืออะไร?

    วัฏจักรของคลื่นเอลเลียตต์ประกอบด้วยคลื่น 8 คลื่นด้วยกัน ประกอบด้วย คลื่นส่ง 5 คลื่นและคลื่นปรับ 3 คลื่น ในระหว่างช่วงคลื่นส่งแนวโน้มจะดำเนินต่อไป และเคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้ามระหว่างคลื่นปรับ โดยเอลเลียตต์ได้กล่าวไว้ว่า หลังจากนั้นวัฏจักรจะเริ่มต้นขึ้นใหม่และเกิดขึ้นวนซ้ำ ๆ ตามลำดับเดิมของการพุ่งขึ้นและร่วงลงอีกครั้ง

  • คลื่นเอลเลียตต์มีวิธีการใช้อย่างไร?

    เทรดเดอร์สามารถใช้คลื่นเอลเลียตต์เพื่อค้นหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเข้าหรือออกจากการซื้อขายได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเห็นคลื่นส่งในแนวโน้มขาขึ้น ก็เข้าซื้อหุ้น แล้วจากนั้นก็ค่อยขายเมื่อคลื่นที่ 5 ของรูปแบบสิ้นสุดลง และการกลับตัวกำลังจะเริ่มขึ้น

  • คลื่นเอลเลียตต์ต้องวาดอย่างไร?

    ในการวาดคลื่นเอลเลียตต์ คุณต้องระบุจุดที่คลื่นหนึ่งได้สิ้นสุดลงและอีกคลื่นหนึ่งกำลังจะเริ่มต้นขึ้น ตัวอย่างเช่น ในรูปแบบคลื่นส่ง คลื่น 1 เคลื่อนตามทิศทางของแนวโน้ม และเมื่อสิ้นสุดลงแล้ว คลื่น 2 ซึ่งเป็นคลื่นปรับก็ได้เริ่มต้นขึ้น แล้วคลื่นที่เหลือก็จะเกิดขึ้นตามกันไปอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด

ข่าวล่าสุด

โมเมนตัมขาขึ้นของทองคำกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL

NASDAQ มีโอกาสลงต่อได้ ถ้าราคาสามารถเคลื่อนที่ลงไปถึง 17,700 จุด ได้

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL

โมเมนตัมขาลงของ S&P 500 มีโอกาสอ่อนแรงได้ ถ้าราคาลงไปที่บริเวณ 5,040 จุด

ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera