เหตุการณ์ต่างๆในโลกและตลาด: ทำความเข้าใจความเชื่อมโยง

เหตุการณ์ต่างๆในโลกและตลาด: ทำความเข้าใจความเชื่อมโยง

อัปเดทแล้ว • 2023-01-25

ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลเช่นนี้เราต้องเผชิญกับ ข้อเท็จจริงใหม่แทบทุกวัน ปกติแล้วผู้คนทั่วไปจะดูข่าวแบบผ่านๆโดยไม่ได้คิดตาม ขณะเดียวกันเทรดเดอร์ต่างพากันเลื่อนดูหัวข้อข่าว เพื่อหาโอกาสและระบุผลกระทบของข่าวนั้นๆที่มี ต่อตลาดได้เป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถมองเห็นจุดเชื่อมโยงระหว่างตลาด และข่าวต่างๆ เทรดเดอร์มือใหม่ต้องมีความเข้าใจ หลักการสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานฯคืออะไร?

ในการเทรด มีวิธีการวิเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักกันดี มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ: เทคนิค และ ปัจจัยพื้นฐานฯ การวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้กราฟในการวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์ทิศทางในอนาคตของราคาสินทรัพย์ ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานฯจะโฟกัสไปที่ภาพใหญ่ แล้วค้นหาความสัมพันธ์รหะว่างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและราคา การวิเคราะห์ไหนล่ะที่ถูกต้อง? นี่คืออุปสรรคสำคัญของศาสตร์การเทรดทั้งหมด แม้จะมีการถกเถียงกันมานานแล้วเรื่องความสำคัญ ของการวิเคราะห์แต่ละประเภท แต่ผู้เชี่ยวชาญสมัยใหม่ ยอมรับว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้ทั้งคู่ผสานกัน พวกเขาสังเกตภาพทางเทคนิคแล้วมองหา ตัวขับเคลื่อนปัจจัยพื้นฐานของตลาดที่มีศักยภาพ ส่วนในตอนนี้เดี๋ยวเราไปเจาะลึกทำความเข้าใจ องค์ประกอบหลักของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานฯ

อะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนปัจจัยพื้นฐานของตลาด?

โดยทั่วไปแล้วปัจจัยพื้นฐานจะสะท้อนภาพใหญ่ ที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและอ่อนแอของ เศรษฐกิจภายในประเทศ ข้อมูลนี้ประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้:

  • ประกาศสำคัญทางเศรษฐกิจ ที่คุณสามารถค้นหา ได้ในปฏิทินเศรษฐกิจ (ข้อมูลการจ้างงาน, GDP, อัตราเงินเฟ้อ, ยอดค้าปลีก, PMI และอื่นๆ )
  • เหตุการณ์ข่าวต่างๆ (การปราศรัยของผู้ว่าการ ธนาคารกลางและผู้นำประเทศ, ความไม่แน่นอน ทางเศรษฐกิจและปัญหาระดับโลก, การเลือกตั้ง)
  • นโยบายการเงินของธนาคารกลาง (อัตราดอกเบี้ยและการซื้อพันธบัตร)

จะไปรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนี้ได้จากที่ไหน?

 ตอนนี้เดี๋ยวเรามาทบทวนกันถึงเรื่องแหล่งข้อมูลสำหรับการเทรด นี่เป็นเวลาที่คุณต้องเริ่มหันมารักปฏิทินแม้ว่า คุณจะมีแค่อันเดียวบนมือถือของคุณ นั่นเป็นเพราะว่าปฏิทินเศรษฐกิจคือหนึ่งในเครื่องมือ ชิ้นสำคัญของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานฯ ก็นะมันไม่ได้เป็นปฏิทินธรรมดาๆนี่นา จริงๆแล้วมันเป็นรายการของประกาศและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆที่มีศักยภาพมากพอที่จะขับเคลื่อนตลาด แต่ละตัวบ่งชี้มีการคาดการณ์ที่แสดงการคาดการณ์ โดยเฉลี่ยของนักวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน  

กฏง่ายๆในการเทรดตามปฏิทินเศรษฐกิจ อาจพูดได้ว่าเป็นการ"เลือกเศรษฐกิจที่ดูดีกว่า" สรุปว่าคุณรอให้ประกาศออกมาแล้วค่อย เปรียบเทียบกับค่าที่คาดการณ์ หากตัวบ่งชี้ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ นั่นหมายความว่า สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นมีความแข็งแกร่ง และบรรยากาศลงทุนของประเทศก็ดีขึ้น ฉะนั้นสกุลเงินของประเทศนั้นก็จะดึงดูดใจนักลงทุนได้มากกว่า นั่นเป็นจังหวะที่คุณกดปุ่ม buy ในเทอร์มินัลของคุณ

ตัวอย่างเช่น ประกาศ NFP ในวันที่ 7 สิงหาคม 2020 ตัวเลขคาดการณ์และตัวเลขที่ออกมาจริงของ ตัวบ่งชี้ของสหรัฐฯจะถูกวางไว้ในตารางด้านล่าง

TH.png

ข้อมูลในตารางแสดงให้เห็นว่าตัวเลขที่ออก มาจริงนั้นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ นั่นก็คือจำนวนผู้มีงานทำและรายได้เฉลี่ย ต่อชั่วโมงนั้นสูงกว่า และอัตราการว่างงานนั้น ต่ำกว่าการคาดการณ์ ผลก็คือ EUR/USD ร่วงลงอย่างรุนแรง

1.png

ด้านบนนี้เราได้แสดงตัวอย่างในอุดมคติ ของการตอบสนองของตลาดให้คุณเห็น คุณต้องจำไว้ว่าแต่ละการประกาศไม่ได้มีผลต่อตลาดเท่ากัน บางครั้งพอข่าวผสมของประเทศหนึ่งออกมา ในเวลาเดียวกัน ปฏิกิริยาของสกุลเงินในประเทศ ก็จะเป็นแบบผสมเช่นกัน

อย่างที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ประกาศต่างๆ ทางเศรษฐกิจนั้นมีความสำคัญมาก ไม่ใช่แค่ปัจจัย กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อตลาด ส่วนปัจจัยอื่นๆก็คือข่าว การเทรดตามข่าวนั้นมีบทบาทมากที่สุดในช่วงที่มี การระบาดของไวรัสโคโรนาและสงครามการค้าของสหรัฐฯ-จีน

มาดูตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างข่าวและ ตลาดที่ปรากฏในวันที่ 11 สิงหาคม หลังจากที่มีข่าวว่ามีวัคซีนรักษาไวรัสโคโรนาออกมาที่รัสเซีย ทองคำก็ร่วงลงจนถึงระดับต่ำสุดของเดือนมิถุนายน

2.png

ปัจจัยสุดท้ายที่ส่งผลกระทบต่อตลาดได้ไม่น้อยเลยก็คือ การตัดสินใจนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากจะเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินสำรอง, อัตราดอกเบี้ย และสามารถสร้างผลกระทบต่อสกุลเงินของประเทศไทย ในฐานะนักเทรด เราจะจับตามองอัปเดทใหม่ๆจากธนาคารกลาง:

  • การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย;
  • การตัดสินใจเรื่องนโยบายการเงิน;
  • ความเห็นของผู้ว่าการธนาคาร

ธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษา เสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ ซึ่งเป้าหมายของมันคือการรักษาระดับของเงินเฟ้อ ให้อยู่ภายในเป้าหมายเพื่อคงสภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจที่ดีเอาไว้ หากระดับเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปพร้อมๆกับ GDP และตัวเลขการจ้างงาน ธนาคารจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ด้วยวิธีนี้ธนาคารจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม, ทำให้การใช้เครดิตและการลงทุนแพงขึ้น ขณะเดียวสกุลเงินของประเทศก็จะแข็งค่าขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจของประเทศฝืดเคือง ธนาคารกลางก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมถูกลง และช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย แต่ก็จะมีผลทำให้สกุลเงินของประเทศสูญเสียความแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

อีกส่วนของนโยบายการเงินของธนาคารกลางคือการซื้อพันธบัตร หากเศรษฐกิจต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมากและ อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมากแล้ว ธนาคารกลางจะเริ่มซื้อพันธบัตร โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มเม็ดเงินที่ไหลเวียนอยู่ในระบบ ในการทำเช่นนี้ผู้กำหนดนโยบายจะพยายามทำให้ เครดิตถูกลงและเพิ่มการใช้จ่าย มาตรการนี้ถูกเรียกอีกอย่างว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ แล้วมันจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยังไง? ในทางทฤษฎีปริมาณเงินสำรองที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินถูกลง อย่างไรก็ตามโรคระบาดในปี 2020 แสดงให้เห็นว่า มาตรการนี้ใช้ไม่ได้กับทุกกรณี

ธนาคารกลางสหรัฐฯเข้าซื้อสินทรัพย์ไปกว่า $2 ล้านล้าน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ความจริงที่ว่าสกุลเงิน USD ได้ร่วงลงไปตามข่าวนี้ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมจนถึงสิงหาคมนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไร สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือมาตรการเดียวกันนี้ของธนาคารกลาง แห่งอื่นๆได้ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศแกร่งกว่า USD ตัวอย่างเช่น ด้านล่างนี้เราจะเห็นพฤติกรรมของสกุลเงินยูโร หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปได้เพิ่มงบประมาณในการจัดซื้อ พันธบัตรฉุกเฉินไปอีกราวๆ 6 พันล้านยูโรในวันที่ 4 มิถุนายน EUR/USD ได้พุ่งขึ้นแม้จะมีเงินไหลเข้ามาใหม่ใน เศรษฐกิจของยูโรโซน

ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ? เหตุผลแรกอาจจะเกี่ยวข้องกับการกระทำของนักลงทุน เนื่องจากสกุลเงินสหรัฐฯมันอ่อนค่าลงทำให้พวกเขา ต้องโยกย้ายเงินของพวกเขาออกจากสหรัฐฯ เหตุผลที่สอง การพุ่งขึ้นของสกุลเงินยูโรอาจเชื่อมโยง กับกลับทางของ carry trade ในช่วงเวลาของความไม่มั่นคง เทรดเดอร์จะโยกเงิน ออกจากสกุลเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า (สกุลเงินของ ตลาดเกิดใหม่) แล้วซื้อกลับสกุลเงินใหญ่ๆเช่นสกุลเงินยูโร

3.png

ธรรมชาติของตลาดนั้นมีความพิเศษเฉพาะตัว ด้วยเหตุนั้นคุณไม่ควรหลับหูหลับตาเทรด การมีอัลกอริทึมบางอย่างอาจจะดี แต่การรู้ภาพรวม ที่ใหญ่ขึ้น, พฤติกรรมพื้นฐานของตลาดจะช่วยให้คุณ หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและเข้าใจตลาดได้ดีขึ้น

ลงชื่อเข้าใช้

คล้ายกัน

เลือกอะไรดี: การซื้อขายเต็มเวลาหรือนอกเวลาในปี 2023?
เลือกอะไรดี: การซื้อขายเต็มเวลาหรือนอกเวลาในปี 2023?

หากคุณคิดจะทำการซื้อขายเต็มเวลา คุณต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับหลายความท้าทาย เทรดเดอร์จำนวนมากไม่สามารถรับมือกับแรงกดดันทางจิตใจและเตรียมพร้อมสำหรับความล้มเหลว

คำถามที่พบบ่อย

  • จะเปิดบัญชี FBS ได้อย่างไร?

    คลิกปุ่ม ‘เปิดบัญชี’ บนเว็บไซต์ของเราแล้วไปที่ Personal area ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขายได้ คุณจะต้องผ่านการตรวจสอบโปรไฟล์, ยืนยันอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ, และผ่านการยืนยัน ID ของคุณ ขั้นตอนนี้มีไว้เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเงินทุนและตัวตนของคุณ เมื่อคุณตรวจสอบทั้งหมดเสร็จแล้วให้ไปที่แพลตฟอร์มการซื้อขายที่ต้องการแล้วเริ่มทำการซื้อขาย 

  • จะเริ่มเทรดอย่างไร?

    หากคุณอายุ 18 ปีขึ้นไปคุณสามารถเข้าร่วม FBS ได้และเริ่มต้นการเดินทาง FX ของคุณ ในการซื้อขายคุณจะต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และมีความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสินทรัพย์ในตลาดการเงิน เริ่มด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย สื่อการเรียนรู้ฟรี และ สร้างบัญชี FBS คุณอาจต้องการทดสอบสภาพแวดล้อมด้วยเงินเสมือนจริงผ่านบัญชีทดลอง เมื่อคุณพร้อมเข้าสู่ตลาดจริงแล้ว ก็เริ่มทำการซื้อขายเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ  

  • จะถอนเงินที่ทำได้กับ FBS ได้อย่างไร?

    ขั้นตอนนั้นตรงไปตรงมามาก ไปที่หน้า การถอนเงิน บนเว็บไซต์หรือส่วนการเงินของ FBS Personal area แล้วถอนเงิน คุณจะรับเงินที่ถอนผ่านระบบการชำระเงินเดียวกับที่คุณใช้ในการฝากเงิน ในกรณีที่คุณฝากเงินเข้าบัญชีด้วยวิธีการอื่น คุณต้องถอนกำไรของคุณผ่านวิธีเดียวกันในยอดเดียวกันกับจำนวนเงินที่ฝาก

ฝากเงินกับระบบการชำระเงินในประเทศของคุณ

ประกาศการเก็บรวบรวมข้อมูล

FBS เก็บรักษาข้อมูลของคุณไว้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ เมื่อกดปุ่ม "ยอมรับ" ถือว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

โทรกลับ

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์

เราได้รับคำร้องของคุณแล้ว

ผู้จัดการของเราจะโทรหาคุณในเร็ว ๆ นี้

คำขอโทรกลับครั้งต่อไปสำหรับหมายเลขโทรศัพท์นี้
จะพร้อมใช้งานใน

หากคุณมีปัญหาเร่งด่วนโปรดติดต่อเราผ่านทาง
สนทนาออนไลน์

เกิดข้อผิดพลาดภายใน กรุณาลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง

อย่ามัวเสียเวลา - ติดตามดูว่า NFP ส่งผลกระทบอย่างไร ต่อ USD แล้วทำกำไรเลยสิ!

คุณกำลังใช้เบราว์เซอร์เวอร์ชันเก่ากว่านี้

อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือลองใช้เพื่อการเทรดที่สะดวกสบายและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

Safari Chrome Firefox Opera